ชุดแต่งกายประจำชาติเกาหลี ที่เรียกว่า "ฮันบก"
ฮันบก" มาจากคำสองคำ คือ
"ฮัน" หมายถึง คนเกาหลี และ "บก" หมายถึง เครื่องแต่งกาย
เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า เครื่องแต่งกาย / ชุดของคนเกาหลี นั้นเอง
ฮันบกในยุคแรกๆ นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
เนื่องจากเกาหลีมีอาณาเขตที่ติดกับดินแดนของจีน
ต่อมาในสมัยโชซอน เริ่มมีการติดต่อกับเปอร์เซียและญี่ปุ่นมากขึ้น
จึงทำให้ชุด "ฮันบก" มีลวดลายมากขึ้น
รวมถึงเริ่มมีเครื่องประดับที่บ่งบอกสถานะและตำแหน่งขึ้นด้วย
โดยทั่วไป ชาวบ้านสามัญ จะสวม "ฮันบก" สีธรรมชาติ
ส่วนผู้มีฐานะจะสวม "ฮันบก" ที่มีสีสัน แต่จะไม่ซ้ำกับสีที่ใช้ในวังหลวง
สำหรับ "ฮันบก" ในวังหลวงนั้น มีการแยกสีและเครื่องประดับอย่างชัดเจน
เพื่อบ่งบอกถึงฐานะ/ตำแหน่ง ของแต่ละคน
โดยชุด "ฮันบก" สำหรับพระราชาจะปักด้วย "ลายมังกร"
ส่วนพระราชินีจะปักด้วย "ลายหงส์" ซึ่งเป็นสัตว์ประจำพระองค์
ช่วงปลายสมัยโชซอนนั้น "ฮันบก" เริ่มมีสีสันและลวดลายที่สวยงามมากขึ้น
มีการพิมพ์ลายดอกไม้และธรรมชาติลงบนผ้าด้วย ซึ่งผู้นำแฟชั่นนี้ เป็นเหล่า "กีแชง" หรือ "คณิกา" ทั้งหลายนั้นเอง
ผู้หญิงเกาหลีนิยมแต่งชุด "ฮันบก" กันมาก
เพื่อใช้อำพรางตนเอง ให้ดูเหมือนคนท้อง เพื่อตบตาทหารญี่ปุ่น
แต่เมื่อเกาหลีเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ
ชุด "ฮันบก" จึงค่อยๆ ลดบทบาทลง เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
ในปัจจุบันชาวเกาหลีจะใส่ชุด "ฮันบก" เฉพาะในโอกาสพิเศษๆเท่านั้น
ตอนนี้ เรารู้ถึงที่มาที่ไปของ "ฮันบก" แล้ว ..
ต่อไป .. เรามารู้จักส่วนต่างๆของ "ฮันบก" กันเถอะค่ะ
ว่าแต่ละชิ้น แต่ละส่วน เค้าเรียกว่าอะไร แล้วใส่กันอย่างไร
เริ่มจาก
저고리 (ชอ-โก-รี)
คือเสื้อนอกท่อนบนของผู้หญิงที่มีความยาวระดับอก แขนยาวถึงข้อมือ
ในสมัยก่อน ชอโกรี มีความยาวถึงประมาณเอว แต่เมื่อเวลาผ่านไป
ชอโกรีก็ค่อยๆสั้นขึ้น จากเอวมาที่อก จนกระทั่งขึ้นไปเหนือเต้านม
ส่วนของผู้ชาย 남자 저고리 (นัม-จา ชอ-โก-รี)
ต่างตรงที่เสื้อยาวถึงเอว
치마 (ชี่-มา)
เป็นกระโปรงของผู้หญิงที่ปกปิดร่างกายต่อจากชอโกรี
มีความยาวคลุมถึงข้อเท้า
속치마 (ซก-ชี่-มา)
กระโปรงชั้นในสำหรับผู้หญิง ใส่ไว้ชั้นในสุด
바지 (พา-จี)
กางเกงของผู้ชาย มีความยาวคลุมถึงข้อเท้าเช่นเดียวกัน
วิธีผูกแทนิม (대님) ที่ปลายพาจี
1. ดึงกลีบตรงกลางพาจีออกไปด้านหน้าให้ตึง
2. พับและพันกลีบไปด้านข้างหันออกจากลำตัว ดึงให้ตึง แน่น พอดีกับข้อเท้า
3. พันสายแทนิมไปรอบข้อเท้า 2 รอบ
4. ผูกแทนิมเหมือนริบบิ้นหรือโบว์ทั่วไป
5. ให้โบว์อยู่ด้านข้างเข้าหาลำตัว
6. เสร็จเรียบร้อย
두루마기 (ทู-รู-มา-กี)
เป็นเสื้อนอกขนาดยาวเลยเข่า มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
ใส่เมื่อออกไปข้างนอก หรือ เพื่อสร้างความอบอุ่นในหน้าหนาว
และถ้าเป็นขุนนาง หรือ ชนชั้นสูงศักดิ์ ก็จะใส่ไว้ตลอด
마고자 (มา-โก-จา)
เป็นฮันบกอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม
ต่างกับชอโกรีตรงที่คอปกเสื้อไม่ทับซ้อนกัน
อันนี้เป็นมาโกจาของผู้ชายจะมีความยาวเลยเอว
ส่วนอันนี้มาโกจาของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายหน่อยคือเกือบถึงเอว
조끼 (โช-กี)
เป็นแจ็คเก็ตแขนกุดสวมทับชอโกรีอีกทีนึง ใส่ในโอกาสและเทศกาลต่างๆ
버선 (พอ-ซอน)
เป็นถุงเท้าสำหรับชุดฮันบก
꽃신 (กด-ชิน)
หลังจากใส่ถุงเท้าแล้ว ก็ต้องทับด้วยรองเท้าสำหรับชุดฮันบก
รองเท้าสำหรับผู้หญิง จะมีลายดอกไม้อยู่รอบๆรองเท้า
아얌 (อา-ยัม)
เป็นหมวกสำหรับผู้หญิง ใส่กับชุดฮันบก
มีหางยาวไปถึงหลัง ไว้ป้องกันความเหน็บหนาว
갓 (คัด)
เป็นหมวกสำหรับผู้ชาย ทรงสูง มีสายรัดใต้คาง สีดำโปร่ง
ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนาง หรือผู้ที่ทำงานอยู่ในวังใส่กัน
เวลาที่ใส่คัด ผู้ชายก็จะทำผมทรงซังทู (상투)
คือม้วนเป็นก้อนกลมๆไว้บนกระหม่อม แล้วก็มีผ้าคาดหัวด้วยล่ะ
비녀 (พี-นยอ)
ปิ่นปักผมของผู้หญิง ไว้ปักมวยผมด้านหลัง
ความยาวและวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานะและบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน
떨잠 (ตอล-จัม)
เป็นปิ่นประดับผม ใช้กับวิกผม แบบที่อยู่ในรูปด้านบน
ส่วนหัวของปิ่น มีลักษณะเป็นหัวใหญ่ๆ ประดับอย่างสวยงามด้วยเพชรนิลจินดา
ผู้ที่ใส่คือ ผู้หญิงในราชวงศ์ เช่น เจ้าหญิงและพระชายา
และสุดท้าย คือ 노리개 (โน-รี-แก)
เป็นเครื่องประดับที่ไว้ห้อยติดกับชอโกรี
มีประโยชน์มากครับ
ตอบลบทำไมชุดนางสนมกับม้หสีต่างกัน
ตอบลบทำไมชุดมเหสีมีที่ยื่นๆมาตรงมือ
ตอบลบหรือที่มืออะ